กินแล้วบอกไม่ได้กิน
พบบ่อย ๆ ว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมเมื่อกินอาหารไปแล้วมักจะบอกว่ายังไม่ได้กินเนื่องจากปัญหาความจำ เรียกร้องขออาหารเพิ่มอีก ฟังดูคล้ายเป็นปัญหาไม่ร้ายแรง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งในความปั่นป่วนประจำวันที่ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด
ผู้ดูแลอาจต้องทะเลาะกับผู้ป่วยเป็นประจำแทบทุกมื้อเพื่อยืนยันว่าให้กินอาหารแล้ว หรือถ้าผู้ป่วยบอกคนอื่นในครอบครัวว่าผู้ดูแลไม่ให้กินอะไรเลย คนในครอบครัวก็จะทะเลาะกันเอง และอาจเปลี่ยนผู้ดูแลที่จ้างมาบ่อย เนื่องจากเข้าใจผิดว่าละเลยหน้าที่
คำอธิบายอาจไม่ได้ผล
ผู้ป่วยบางรายอาจ “ยอมจำนน” ต่อหลักฐาน เช่น เมื่อนำบันทึกการกินแต่ละมื้อให้ผู้ป่วยดู หรือเขียนขึ้นกระดานไว้ก็จะเข้าใจ แต่หลายรายสามารถหาเหตุผลว่าไม่จริงมาโต้แย้งได้
แก้ปัญหาลืมอิ่ม
เนื่องจากปัญหาความจำทำให้ผู้ป่วยลืมว่าได้กินอาหารไปแล้ว การให้อาหารเพิ่มตามที่ผู้ป่วยเรียกร้องเพื่อตัดปัญหาจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสน้ำหนักเกิน และอาจมีหลายโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จึงจำเป็นต้องควบคุมการกิน และใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
1.แบ่งอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง เช่น จาก 3 มื้อใหญ่ เป็น 5-6 มื้อย่อย เมื่อผู้ป่วยขออาหารอีก ก็จะได้รับอาหารในปริมาณปกติของแต่ละวัน ไม่เกินความต้องการของร่างกาย ลดปัญหาการขัดใจผู้ป่วย
2.ถ้าสะดวกให้รับประทานอาหารพร้อมกับผู้ป่วย ถ้าคนละเวลากันอาจเลี่ยงไปห้องอื่นเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเห็น แล้วคิดว่าตัวเองยังไม่ได้กินในขณะที่คนอื่นกิน
3.เก็บอาหารให้พ้นสายตา กินเสร็จแล้วเก็บออกจากโต๊ะ ตุนอาหารไว้ในตู้เย็นน้อย ๆ ล็อกตู้ หรือเก็บไว้ในตู้อื่นที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึง
4.ผู้ป่วยอาจกระหายน้ำ แต่เข้าใจว่าหิว ดูแลให้ดื่มน้ำพอเพียงในแต่ละวัน หรือหาเครื่องดื่มรสหวานน้อย ให้พลังงานน้อยให้ดื่ม เมื่อผู้ป่วยขออาหารเพิ่ม
5.เตรียมของว่างรสอ่อน หวานน้อย เค็มน้อย ไขมันต่ำ พลังงานน้อย หรือผลไม้ไม่หวานจัดชิ้นพอดีคำไว้ให้ หากผู้ป่วยเรียกร้องขออาหารหลังจากเพิ่งกินอิ่มไปไม่นาน
ผู้ป่วยบางรายอาจ “ยอมจำนน” ต่อหลักฐาน เช่น เมื่อนำบันทึกการกินแต่ละมื้อให้ผู้ป่วยดู หรือเขียนขึ้นกระดานไว้ก็จะเข้าใจ แต่หลายรายสามารถหาเหตุผลว่าไม่จริงมาโต้แย้งได้
เนื่องจากปัญหาความจำทำให้ผู้ป่วยลืมว่าได้กินอาหารไปแล้ว การให้อาหารเพิ่มตามที่ผู้ป่วยเรียกร้องเพื่อตัดปัญหาจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสน้ำหนักเกิน และอาจมีหลายโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จึงจำเป็นต้องควบคุมการกิน และใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
1.แบ่งอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง เช่น จาก 3 มื้อใหญ่ เป็น 5-6 มื้อย่อย เมื่อผู้ป่วยขออาหารอีก ก็จะได้รับอาหารในปริมาณปกติของแต่ละวัน ไม่เกินความต้องการของร่างกาย ลดปัญหาการขัดใจผู้ป่วย
2.ถ้าสะดวกให้รับประทานอาหารพร้อมกับผู้ป่วย ถ้าคนละเวลากันอาจเลี่ยงไปห้องอื่นเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเห็น แล้วคิดว่าตัวเองยังไม่ได้กินในขณะที่คนอื่นกิน
3.เก็บอาหารให้พ้นสายตา กินเสร็จแล้วเก็บออกจากโต๊ะ ตุนอาหารไว้ในตู้เย็นน้อย ๆ ล็อกตู้ หรือเก็บไว้ในตู้อื่นที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึง
4.ผู้ป่วยอาจกระหายน้ำ แต่เข้าใจว่าหิว ดูแลให้ดื่มน้ำพอเพียงในแต่ละวัน หรือหาเครื่องดื่มรสหวานน้อย ให้พลังงานน้อยให้ดื่ม เมื่อผู้ป่วยขออาหารเพิ่ม
5.เตรียมของว่างรสอ่อน หวานน้อย เค็มน้อย ไขมันต่ำ พลังงานน้อย หรือผลไม้ไม่หวานจัดชิ้นพอดีคำไว้ให้ หากผู้ป่วยเรียกร้องขออาหารหลังจากเพิ่งกินอิ่มไปไม่นาน
อ่านเรื่องน่าสนใจเพิ่มเติม : พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
บทความที่เกี่ยวข้อง