กิจกรรมทางกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
การเลือกกิจกรรมทางกายสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม
– เหมาะกับเพศและอายุ– ดูว่าร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉง แค่ไหน
– มีโรคประจำตัวหรือเปล่า
– จัดให้หลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองจากการฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่ร่างกายแข็งแรง
– เต้นแอโรบิก เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เล่นห่วงฮูลาฮูป (อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน)– โยคะ รำมวยจีน เดินจงกรม ช่วยพัฒนาความจำได้
– ฝึกเดินถอยหลัง หาพื้นที่โล่งกว้าง เรียบ ยืนให้มั่น ค่อย ๆ ก้าวถอยหลังช้า ๆ อย่างน้อยวันละ 50 ก้าว
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่เคลื่อนไหวไม่คล่อง หรืออายุ 80 ปีขึ้นไป
– เคลื่อนไหวช้า ๆ เป็นจังหวะ เพื่อให้ทรงตัวได้ดี ไม่หกล้มง่าย– เดิน ไทเก๊ก ชี่กง รำมวยจีน ไทชิ รำวง เต้นตาราง 9 ช่อง
ท่าบริหารสมอง
ฝึกทำเป็นประจำ อย่างน้อยท่าละ 10 ครั้งท่าจีบแอล
>> มือซ้ายทำท่าจีบ มือขวาทำท่าแอล แล้วสลับให้มือซ้ายทำท่าแอล มือขวาทำท่าจีบ
>> ช่วยกระตุ้นการทำงานที่ประสานกันระหว่างตากับมือ
ท่าโป้งก้อย
>> มือขวาชูนิ้วโป้ง มือซ้ายชูนิ้วก้อย แล้วสลับเปลี่ยนมือขวาชูนิ้วก้อย มือซ้ายชูนิ้วโป้ง
>> ช่วยให้สมองสั่งการได้ดีขึ้น ฝึกจิตให้มีสมาธิในการรับรู้
ท่าจับจมูกจับหู
>> มือขวาจับปลายจมูก มือซ้ายจับหูขวา แล้วสลับเป็นมือขวาจับหูซ้าย มือซ้ายจับปลายจมูก
>> ช่วยให้สมองทั้งสองซีกทำงานสมดุลกัน กระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
ข้อควรระวัง
– เมื่อออกกำลังกาย วอร์มอัพและคูลดาวน์ทุกครั้ง– ถ้าเลือกได้ ออกกำลังกายหลังกินอาหารแล้ว 2-3 ชั่วโมง ตอนบ่ายดีกว่าเช้า ช่วยให้นอนหลับดี
– เลือกสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีฝุ่นละอองและมลภาวะ
– ครอบครัวชวนไปออกกำลังกายด้วยกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีวินัย
– ฝึกหายใจให้ถูก จะไม่เหนื่อยมาก หายใจเข้า-ท้องป่อง หายใจออก-ท้องยุบ
บทความที่เกี่ยวข้อง