สูงวัยกับภัยจากความอ้วน

สูงวัยกับภัยจากความอ้วน
ความอ้วนไม่เป็นผลดีต่อคนทุกเพศทุกวัย เนื่องจากนำไปสู่หลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคกระดูกและไขข้อต่าง ๆ  มีโอกาสหกล้มง่าย และเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกังวลต่อรูปร่าง ขาดความมั่นใจในตนเอง ส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย  
ทำไมสูงวัยแล้วอ้วนง่าย
ผู้สูงอายุหลายท่านมักจะบ่นว่ากินอะไรก็อ้วน กินเท่าเดิมเหมือนตอนยังหนุ่มยังสาวก็อ้วน กินน้อยลงแล้วก็ยังอ้วนอีก 
สาเหตุมาจาก เมื่อถึงวัยสูงอายุการทำงานภายในร่างกายทุกส่วนเสื่อมลง รวมทั้งระบบเผาผลาญที่ลดประสิทธิภาพการทำงานลง  ร่วมกับการใช้ชีวิตที่สงบ ได้พักผ่อนมากขึ้น ใช้พลังงานน้อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือใช้แรง ร่างกายสะสมไขมันเก็บไว้ได้มาก จึงทำให้อ้วนง่าย 

และยังมีอีกหลายท่านที่กินตามใจปาก ซึ่งเป็นการกินเกินความต้องการของร่างกาย ความอ้วนย่อมมาเยือนแน่นอน
ลดน้ำหนักไม่ได้ผลซักที 
หลากหลายเทคนิคการควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วนที่มาตามกระแสนิยมแล้วหายไปในที่สุดเพราะไม่ได้ผล ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่สามารถทำได้นานหรือทำเป็นประจำ วิธีการบางอย่างอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมหากไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด จึงจำเป็นต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัย และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

วัยสูงอายุควรเลี่ยงวิธีการที่เสี่ยงต่อการทำร้ายสุขภาพ เช่น การอดอาหาร หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม การใช้ยา หรือสมุนไพรเอง เป็นต้น 

การลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่รีบร้อน ใช้วิธีการเรียบง่ายด้วยการเลือกรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับวัยและภาวะร่างกายของแต่ละคน 
กินอย่างไรห่างไกลความอ้วน 

- กินอาหารในปริมาณและสัดส่วนเหมาะสม กินให้ครบทั้ง 5 หมู่ กินพออิ่ม ไม่กินจนอิ่มแปร้เกินไป ถึงแม้มีอาหารเหลือมากไม่ควรพยายามกินเพิ่มเพราะเสียดาย 
- กินแป้งให้น้อยลง เน้นแป้งไม่ขัดขาว ไม่แปรรูป เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ธัญพืชต่าง ๆ 
- เลือกโปรตีนที่มีไขมันน้อย ไม่ติดหนังหรือมัน เช่น อกไก่ สันใน หรือเนื้อปลา
- เลี่ยงอาหารให้พลังงานสูง อย่างอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน ของทอด หรือใส่กะทิ และอาหารรสหวานจัด เช่น ชนมหวานต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้รสหวานจัด 
- เน้นการกินผักหลากหลายสีผลัดเปลี่ยนกันไป และเลือกผลไม้รสไม่หวานจัด 
- กินอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนผัด หรือทอด
- อย่าอดอาหารเพราะจะทำให้หิวมากขึ้น และไม่ควรอดอาหารเช้าเพื่อป้องกันสมองเสื่อม 
- เลี่ยงการกินมื้อเย็นดึกเกินไป รวมทั้งเครื่องดื่มรสหวานหรือให้พลังงานสูง
ออกกำลังกายลดอ้วนสลายไขมัน 

- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
- ออกกำลังกายแบบช้า ๆ เริ่มต้นทีละน้อย ไม่ทำเกินกำลัง เหนื่อยหยุดพักแล้วค่อยออกกำลังกายต่อ 
- เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยและสภาพร่างกาย ปรึกษาแพทย์ว่ามีโรคประจำตัวหรือข้อห้ามในการออกกำลังกายบางประเภทหรือไม่ 
- เลี่ยงการใช้ชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ หากิจกรรมที่ทำให้ได้ใช้แรงหรือเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ทำงานบ้าน ทำสวน เดินออกกำลังกาย เต้นรำ เล่นกีฬา เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง ภาวะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สามารถทำการงานต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
EP09 อัลไซเมอร์...คำที่ไม่มีวันลืม
ท่ามกลางความทุกข์ ความยากลำบาก ความเหน็ดเหนื่อย ...
EP10 ครอบครัว คือยารักษาใจ
คุณแม่ของผมเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2492 ...
สมองเสื่อมที่ป้องกันได้
ภาวะสมองเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ มีปัจจัยเสี่ยงจากอะไร
อุปกรณ์ดูดเสมหะ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดเสมหะ ช่วยในการขจัดน้ำลายหรือเสมหะ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.