ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม

ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเสี่ยงหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไปถึง 8 เท่า
การปรับ “บ้าน” ให้ปลอดภัยสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรเน้นป้องกันและลดอุบัติเหตุให้มากที่สุด

ห้องนอน

– จัดห้องให้โล่ง ลดการเห็นภาพหลอนตอนกลางคืน
– เตียงนอนสูงพอเหมาะ ให้เท้าวางราบกับพื้นได้เมื่อนั่งริมเตียง
– วางเตียงชิดผนังกันตก
– ถ้าสวิตช์ไฟไกลจากเตียง ควรมีโคมไฟหัวเตียง
– มีห้องนํ้า หรืออุปกรณ์การขับถ่ายใกล้เตียงนอน
– หากผู้มีภาวะสมองเสื่อมละเมอ ตื่นขึ้นมาเดินดึก ๆ อาจแขวนกระดิ่งไว้ที่ลูกบิดประตูให้ผู้ดูแลได้ยิน

ห้องน้ำ

– ไม่ติดกลอนข้างใน ประตูลูกบิดควรมีกุญแจเก็บไว้ที่ผู้ดูแล
– ถ้าเป็นไปได้ ประตูควรเปิดออกด้านนอก หรือควรเป็นบานเลื่อน ในกรณีเกิดอุบ้ติเหตุด้านใน ผู้ดูแลสามารถเปิดประตูเข้าไปในห้องน้ำได้
– พื้นห้องน้ำใช้วัสดุป้องกันลื่น มีพื้นที่กว้างพอให้ผู้ดูแลช่วยเหลือสะดวก
– แยกส่วนแห้ง ส่วนเปียก ไม่มีขั้นหรือส่วนต่างระดับ
– เลือกสีสุขภัณฑ์แตกต่างจากพื้นหรือผนัง เพื่อให้เห็นชัดเจน
– อุปกรณ์อาบนํ้าวางในระดับสายตา มีเท่าที่จำเป็น จัดเรียงลําดับการใช้ ป้องกันการสับสน
– เปิดไฟไว้ตลอดคืน เผื่อลุกมาเข้าห้องน้ำตอนดึกจะได้มองเห็น
– กระจกในห้องน้ำ ควรเป็นกระจกนิรภัยหรือสแตนเลส เพื่อป้องกันหากผู้มีภาวะสมองเสื่อมเกิดอาการจำตัวเองไม่ได้ อาจจะทุบกระจกและเป็นอันตราย

ห้องครัว

– ปิดล็อกห้องครัวไว้
– ควรติดเครื่องตัดแก๊สอัตโนมัติ ติดฝาครอบปุ่มเตาไฟฟ้าหรือเตาอบ
– เลือกใช้ภาชนะเป็นพลาสติกและมีสีที่แตกต่างกันกับโต๊ะทานข้าว
– ควรเก็บอุปกรณ์ที่เป็นอันตรายไว้ให้มิดชิด
– ไม่มีพวกผักผลไม้ปลอม จะหยิบไปกินผิดได้

ห้องรับแขก

– เก้าอี้แข็งแรงและมีที่วางแขน ช่วยให้พยุงตัวลุกนั่งสะดวก
– ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มั่นคง ไม่มีล้อ สีแตกต่างกับผนังห้องและพื้น มองเห็นง่าย
– เฟอร์นิเจอร์ที่มีลวดลายเยอะเกินไปที่มักกระตุ้นให้สับสน
– วางโทรศัพท์ที่ใช้งานง่ายไว้ มีเบอร์โทรฉุกเฉิน เบอร์ผู้ดูแล ครอบครัวและเพื่อน ติดให้เห็นชัด ๆ
– อาจมีมุมที่ติดภาพถ่ายเก่า ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นความทรงจำ

พื้นที่รอบบ้าน

– ทางเดินเรียบ ไม่ลื่น ไม่มีก้อนหินหรือต้นไม้กีดขวาง
– มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หลงทางออกไปที่อื่น
– พรางประตูและล็อกประตูรั้วบ้าน ป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมเปิดออกไปแล้วหาทางกลับไม่ถูก เช่น การทำเป็นสวนหรือต้นไม้ หรือภาพวิวธรรมชาติ หรือติดตั้งกล้องวงจรปิดอัตโนมัติส่งสัญญาณเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมเดินมาใกล้ประตูรั้ว เช่น ระบบ smart home
แต่ละบ้านมีรายละเอียดที่ต้องจัดการดูแลแตกต่างกันไป ตามอาการและพฤติกรรมของผู้มีภาวะสมองเสื่อม
การเตรียมพื้นที่
ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเฉพาะจุดเสี่ยงเกิดอันตราย อย่าจัดบ้านใหม่หมด ไม่ควรเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์หลัก
การเตรียมตัวย้ายบ้าน
ปัญหาที่พบเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมต้องย้ายบ้าน ติดบ้าน ไม่ยอมย้าย แปลกที่ ไปไม่นานร้องกลับบ้าน หลงทิศ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด
การดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม ถึงแม้จะดูแลด้วยความรักความเอาใจใส่ ...
เรื่องเล่าจากพี่ปิ่นเพชร
เมื่อเราเป็นผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม สิ่งที่เราคิดอยู่ในใจเสมอ ...
อาหารการกินเพื่อสุขภาพ
ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่กินดีอยู่ดี กินได้ กินอิ่ม กินอร่อย กินแล้วมีแรง ...
แนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
ค่าความดัน คือ แรงดันในหลอดเลือด ช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.