โซนอันตราย

โซนอันตราย

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะหลงลืม ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ คล้ายกับเด็กเล็ก ผู้ดูแลควรจัดการโซนอันตรายในบ้านให้ปลอดภัย

จุดอันตรายที่สุดในบ้านคือ "ห้องครัว" ต้องระวังไฟและของมีคม "ห้องน้ำ" ต้องระวังพื้นลื่น

ประตู

– ประตูห้องครัวต้องปิดล็อกตลอด ติดม่านหรือทาสีเดียวกับผนัง อาจพรางกลอนหรือลูกบิดประตูไว้ด้วย (ผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางคนเห็นประตูมีลูกบิดก็พยายามจะเปิด แต่พอเข้าไม่ได้ก็โมโห อาจทุบประตูจนบาดเจ็บได้)
– ปิดล็อกประตูทางเข้า-ออกนอกบ้านทุกจุดให้แน่นหนา กันเดินหลงออกนอกบ้าน
– ติดป้ายชื่อหรือสัญลักษณ์ของห้องต่าง ๆ ไว้ ไม่ให้เดินวนหาจนสับสน
– ติดตั้งกลอนหรือลูกบิดในตําแหน่งที่เหนือหรือใต้ระดับสายตา ไม่ให้เห็นชัด
– หลีกเลี่ยงประตูที่ล็อกจากด้านใน ป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมล็อกแล้วเปิดเองไม่ได้
– หากมีประตูกระจกภายในบ้าน ให้ติดสติกเกอร์หรือทําสัญลักษณ์ที่เห็นชัด
– ประตูควรกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เผื่อระยะรถเข็นให้เข้า-ออกสะดวก

บันได

– ทางเดินและบันไดควรมีราวจับตลอด ขั้นบันไดสมํ่าเสมอ
– ติดเส้นหรือแถบสีที่แตกต่างบริเวณขอบบันไดให้เห็นชัดเจน
– อย่าให้ขึ้นลงบ่อย ๆ ติดตั้งประตูขวางบริเวณบันไดด้านบนและด้านล่าง หรือวางของขวางไว้
– ไม่วางพรมหรือผ้าเช็ดเท้าไว้ เสี่ยงหกล้ม
– ถ้าจัดการได้ ควรให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมพักอาศัยที่ชั้นล่างของบ้านจะดีกว่า
– ระเบียงและหน้าต่าง
–ปิดประตูล็อกไว้ตลอด ป้องกันการพลัดตก

กระจก

– ใช้ผ้าคลุมกระจกเงาไว้ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจจำตัวเองไม่ได้ จะตกใจ ทุบแตก
ผู้ดูแลเป็นเสมือนนักสืบ คอยสังเกตพฤติกรรมผู้มีภาวะสมองเสื่อมว่าน่าจะเสี่ยงอันตรายจุดไหนได้บ้าง แล้วป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ
วิธีดูแลความปลอดภัย
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่หายออกจากบ้าน มักจะมีพฤติกรรมเดินหลง เมื่อออกไปนอกบ้านกับครอบครัว ...
อาการข้างเคียงของยารักษาสมองเสื่อม
ถ้าการรักษาอาการด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจโดยไม่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผลดี ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ร้องกลับบ้านทุกวันทำอย่างไรดี
อีกหนึ่งปัญหาประจำวันที่ “ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด” นั่นก็คือ ...
EP04 เยียวยาสมองเสื่อมด้วยหัวใจ
การดูแลพ่อสมองเสื่อมในขณะที่ลูกป่วยด้วยโรคเอสแอลอี ...
การออกกำลังกายสำหรับผู้มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลงพุง (Overweight and obesity)
การควบคุมน้ำหนัก ควรออกกำลังกายให้ได้ 150 นาที/สัปดาห์ ...
ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด
การดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม ถึงแม้จะดูแลด้วยความรักความเอาใจใส่ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.