การดูดเสมหะในปาก

การดูดเสมหะในปาก
การดูดเสมหะเป็นการขจัดน้ำลายหรือเสมหะซึ่งกีดขวางทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่มีเสมหะมากและไอเอาออกมาเองได้ไม่ดีนัก ช่วยให้หายใจสะดวกและลดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ

ขั้นตอนการดูดเสมหะ

1. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ และอธิบายให้ผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ความร่วมมือ
2. จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงาย
3 .เปิดเครื่องดูดเสมหะ
4. สอดสายดูดเสมหะเข้าช่องปากด้วยความนุ่มนวล
5. เมื่อสายดูดเสมหะเข้าไปถึงตำแหน่งในการดูดเสมหะ ได้แก่ บริเวณหลังคอ ให้ปิดรูข้อต่อสายดูดเสมหะ ขยับหมุนสายดูดเสมหะให้ทั่วช่องปาก
6 .ดูดเสมหะจนเสมหะมีปริมาณลดลง (สังเกตจากจำนวนเสมหะเข้ามาในสายดูดเสมหะลดลง) จึงยุติการดูดเสมหะ
7. ล้างสายดูดเสมหะก่อนทิ้งสาย ด้วยการดูดน้ำสะอาดจนไม่มีเสมหะค้างในสายดูดเสมหะ และสายต่อเครื่องดูดเสมหะ
8. ปิดเครื่องดูดเสมหะและปลดสายดูดเสมหะทิ้ง พร้อมจัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย
9. เทเสมหะในถังเก็บเสมหะทิ้งในชักโครก (ล้างถังเก็บเสมหะให้สะอาดอย่างน้อยวันละ2ครั้ง)
10. ล้างมือให้สะอาด

ข้อแนะนำหรือข้อควรระวัง

– ควรดูดเสมหะก่อนมื้ออาหาร หรือหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารลงปอด
– ระหว่างการดูดเสมหะ ควรสอดสายดูดเสมหะในปากแต่ละครั้ง ใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 วินาที และควรถอนสายออกมาจากช่องปากเพื่อ สังเกตอาการเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว และให้ผู้ป่วยได้พัก ก่อนสอดสายดูดเสมหะในปากอีกครั้ง ทำซ้ำจนเสมหะมีปริมาณลดลง

สังเกตอาการเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว และให้ผู้ป่วยได้พัก ก่อนสอดสายดูดเสมหะในปากอีกครั้ง

อุปกรณ์

– เครื่องดูดเสมหะ
– ตัวกรอง
– สายต่อเครื่องดูดเสมหะ
– ข้อต่อสายดูดเสมหะ หรือ Finger tip
– สายดูดเสมหะ
– ภาชนะใส่น้ำสะอาด
– ถุงมือสะอาด

การดูแลแผลกดทับ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนอนติดเตียง มักจะเคลื่อนไหวไม่ได้ และนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน จึงเกิดแผลกดทับ ...
การให้อาหารทางสายยางทางจมูก
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารได้น้อย ไม่รับประทานอาหาร หรือมีปัญหาการกลืน ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ชนิดของสมองเสื่อม
สมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยเกิดจากอัลไซเมอร์ ...
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: NCDs คืออะไร
NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Disease คือ โรคไม่ติดต่อ เช่นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ ...
เมื่อทราบว่าคนในบ้านมีภาวะสมองเสื่อม เรา
เมื่อคนในครอบครัวมีภาวะสมองเสื่อม ...
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.