การดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการคาสายสวนปัสสาวะไว้ในขณะอยู่บ้าน ผู้ดูแลควรเรียนรู้วิธีการดูแลอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการอุดตันของสายปัสสาวะ และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
ใครจำเป็นต้องคาสายสวนปัสสาวะ
1. การผ่าตัดทางนรีเวช และระบบทางเดินปัสสาวะ
2. ช็อค เสียเลือดมาก ติดเชื้อรุนแรง
3. ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ (ได้รับอุบัติเหตุไขสันหลัง หรือระบบทางเดินปัสสาวะ)
4. เส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะทำงานลดลง
1. การผ่าตัดทางนรีเวช และระบบทางเดินปัสสาวะ
2. ช็อค เสียเลือดมาก ติดเชื้อรุนแรง
3. ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ (ได้รับอุบัติเหตุไขสันหลัง หรือระบบทางเดินปัสสาวะ)
4. เส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะทำงานลดลง
ข้อแนะนำ
1. วางถุงปัสสาวะต่ำกว่าตัวผู้ป่วย กรณีจำเป็นยกถุงสูง พับหรือมัดสายของถุงปัสสาวะชั่วคราว หลังจากนั้นคลายออกให้อยู่ในสภาพเดิม
2. ระวังสายปัสสาวะบิดหรือพับงอ ถ้าปัสสาวะเป็นตะกอนหรือลิ่มเลือด ให้บีบรูดสายยางบ่อยๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
3. ดูแลสายสวนปัสสาวะและถุงปัสสาวะให้อยู่ในระบบปิดเสมอ ไม่มีรอยแตก รั่วซึม ระวังไม่ให้สายเชื่อมต่อหลุดจากกัน เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้
4. หาภาชนะสะอาดวางรองถุงปัสสาวะ ไม่วางถุงกับพื้นโดยตรง
5. ดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะเลื่อนเข้าออก หรือเกิดการดึงรั้ง
6. ควรเทปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมงหรือวันละ 2-3 ครั้ง
1. วางถุงปัสสาวะต่ำกว่าตัวผู้ป่วย กรณีจำเป็นยกถุงสูง พับหรือมัดสายของถุงปัสสาวะชั่วคราว หลังจากนั้นคลายออกให้อยู่ในสภาพเดิม
2. ระวังสายปัสสาวะบิดหรือพับงอ ถ้าปัสสาวะเป็นตะกอนหรือลิ่มเลือด ให้บีบรูดสายยางบ่อยๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
3. ดูแลสายสวนปัสสาวะและถุงปัสสาวะให้อยู่ในระบบปิดเสมอ ไม่มีรอยแตก รั่วซึม ระวังไม่ให้สายเชื่อมต่อหลุดจากกัน เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้
4. หาภาชนะสะอาดวางรองถุงปัสสาวะ ไม่วางถุงกับพื้นโดยตรง
5. ดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะเลื่อนเข้าออก หรือเกิดการดึงรั้ง
6. ควรเทปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมงหรือวันละ 2-3 ครั้ง
ขั้นตอนการเทปัสสาวะ
ล้างมือให้สะอาด
1. ต่อกรวยเข้ากับกระบอก เปิดฝาถุงปัสสาวะ
2. เช็ครูเปิดถุงปัสสาวะด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
3. ปลดคลายล็อคเพื่อเปิดถุงปัสสาวะ
4. เทปัสสาวะออกจากถุง ระวังไม่ให้ปากถุงปัสสาวะสัมผัสกรวย
5. ปิดรูเปิดถุงปัสสาวะ
6. เช็ดทำความสะอาดและปิดฝา
7. ไม่ควรเปิดฝาถุงปัสสาวะทิ้งไว้
8. บันทึกน้ำเข้า-ออก กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องความสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย
9. ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเพียงพอวันละ 2,000 cc (กรณีไม่จำกัดน้ำ) ให้น้ำอย่างเพียงพอจะช่วยป้องกันตะกอนอุดตันสายปัสสาวะ และช่วยชะล้างเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ
10. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และท่อปัสสาวะด้วยน้ำและสบู่ ซับให้แห้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและสามารถอาบน้ำได้ เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่สายสวนปัสสาวะ
11.ไม่ควรทาแป้งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ
12. ควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุก 4 สัปดาห์ (ขึ้นกับชนิดของสายสวน) หรือการอุดตัน และกรณีปัสสาวะมีความผิดปกติ
13. ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
ล้างมือให้สะอาด
1. ต่อกรวยเข้ากับกระบอก เปิดฝาถุงปัสสาวะ
2. เช็ครูเปิดถุงปัสสาวะด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
3. ปลดคลายล็อคเพื่อเปิดถุงปัสสาวะ
4. เทปัสสาวะออกจากถุง ระวังไม่ให้ปากถุงปัสสาวะสัมผัสกรวย
5. ปิดรูเปิดถุงปัสสาวะ
6. เช็ดทำความสะอาดและปิดฝา
7. ไม่ควรเปิดฝาถุงปัสสาวะทิ้งไว้
8. บันทึกน้ำเข้า-ออก กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องความสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย
9. ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเพียงพอวันละ 2,000 cc (กรณีไม่จำกัดน้ำ) ให้น้ำอย่างเพียงพอจะช่วยป้องกันตะกอนอุดตันสายปัสสาวะ และช่วยชะล้างเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ
10. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และท่อปัสสาวะด้วยน้ำและสบู่ ซับให้แห้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและสามารถอาบน้ำได้ เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่สายสวนปัสสาวะ
11.ไม่ควรทาแป้งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ
12. ควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุก 4 สัปดาห์ (ขึ้นกับชนิดของสายสวน) หรือการอุดตัน และกรณีปัสสาวะมีความผิดปกติ
13. ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
การดูแลเฉพาะทางและการเตรียมอุปกรณ์
การดูแลสิ่งแวดล้อมและการปูเตียง
การดูแลสิ่งแวดล้อมรอบเตียง และการดูแลผ้าปูเตียงให้สะอาด ป้องกันการก่อโรค และส่งเสริมสุขอนามัย...