แนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

แนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
ค่าความดัน คือ แรงดันในหลอดเลือด ช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว การวัดค่าความดันโลหิต ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมสม่ำเสมอ ทำให้เห็นความผิดปกติ ลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคร้าย ที่มีสาเหตุมาจากค่าความดันที่ผิดปกติ

แนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

– ใช้เครื่องวัดความดันโลหิต เป็นเครื่องเดิมทุกครั้งและผู้วัดความดันโลหิตต้องเป็นบุคคลเดิมทุกครั้ง และควรตรวจสอบถ่าน/แบตเตอรี่/ปลั๊กไฟ ของเครื่องว่าความพร้อมในการใช้งานก่อนการวัดความดันทุกครั้ง

เวลาที่ควรวัดความดัน

– ควรวัดช่วงเช้า วัดความดันภายใน 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน และจัดการกิจวัตรประจำวันแล้ว ก่อนรับประทานอาหาร (หลังจากอุจจาระ ปัสสาวะแล้ว ไม่วัดความดันโลหิตขณะกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ โดยวัดก่อนกินยา และกินอาหารเช้า)
– ควรวัดช่วงหัวค่ำ หรือหลังจากเสร็จกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว หรือ 30 นาที - 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ ออกกำลังกาย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการวัดความดัน

– วัดความดันโลหิตในที่ที่สงบเงียบ
– ควรนั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก และไม่นั่งไขว่ห้าง เพื่อไม่ให้หลังเกร็ง เท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และนั่งพัก 5 นาทีก่อนวัดความดันโลหิต
– ยกเว้นผู้ป่วยที่ติดเตียงให้วัดในขณะที่นอน ระหว่างวัดความดันโลหิต
– ควรวัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด โดยวางแผ่นผ้าที่พันต้นแขน (Upper-arm cuff) ให้วางอยู่ในระดับเดียว กับหัวใจ ผู้ที่ใส่แขนเสื้อที่หนา ควรถอดเสื้อให้แผ่นผ้าพันต้นแขนติดกับผิวหนังต้นแขนโดยไม่มีแขนเสื้อคั่นกลาง
– กดปุ่มเริ่มวัดความดัน ขณะวัดไม่ควรกำมือ ขยับตัว ไม่พูดหรือออกเสียงใด ๆ
– รอจน แผ่นผ้าที่พันต้นแขน (Upper-arm cuff) คลายตัวออก เสร็จสิ้นการวัดความดัน
– บันทึกความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันสูงควรวัดอย่างน้อย 3 -5 ครั้ง สำหรับคนไข้ติดเตียงควรวัดความดันทุกวัน

ระดับความดันโลหิต

ระดับ ค่าสูง (มม.ปรอท) ค่าต่ำ (มม.ปรอท)
ปกติ ค่าสูง 120 – 129 ค่าต่ำ 80 – 84
เริ่มสูง ค่าสูง 130 – 139 ค่าต่ำ 85 – 89
สูงระดับ 1 ค่าสูง 140 – 159 ค่าต่ำ 90 – 99
สูงระดับ 2 ค่าสูง 160 – 179 ค่าต่ำ 100 – 109
สูงระดับ 3 ค่าสูง มากกว่าหรือเท่ากับ 180 ค่าต่ำ น้อยกว่า หรือเท่ากับ 110
อ้างอิงจาก แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
การดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการคาสายสวนปัสสาวะไว้ในขณะอยู่บ้าน ...
เตียง
เตียงสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรเป็นเตียงที่นอนหลับพักผ่อนได้อย่างสบายตัวและมีความปลอดภัย ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
EP12 มากกว่ารักคือเข้าใจ
การมีผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คน กระทบทุกคนในครอบครัว ...
การเตรียมพื้นที่
ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเฉพาะจุดเสี่ยงเกิดอันตราย อย่าจัดบ้านใหม่หมด ...
อาการของภาวะสมองเสื่อม
เมื่อสงสัยว่าคนในครอบครัวอาจสมองเสื่อม ควรพบแพทย์รักษาตั้งแต่เนิ่น ...
การดูดเสมหะทางปาก
การดูดเสมหะทางปาก เป็นการระบายเอาเสมหะ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.