เตียง

เตียงสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรเป็นเตียงที่ผู้นอนหลับพักผ่อนได้อย่างสบายตัวและมีความปลอดภัย ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม เมื่อระยะอาการช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ผู้ดูแลสามารถพยุงตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมลงจากเตียง พาเข้าห้องน้ำหรือนั่งเก้าอี้รถเข็นได้สะดวก

ข้อแนะนำ

– ความสูงพอเหมาะ ให้เท้าวางราบกับพื้นได้เมื่อนั่งริมเตียง
– อาจใช้เตียงที่สามารถปรับระดับความสูง
– ความกว้าง 3.5 ฟุตเพื่อสะดวกในการพลิกตัวและการดูแล
– เตียงที่ขึ้นลงได้ทั้ง 2 ฝั่ง
– เตียงที่มีช่องว่างใต้เตียง ช่วยลดโอกาสบาดเจ็บจากการเดินชนขอบเตียง
– มีราวกันตก ประโยชน์ของราวกันตกผู้มีภาวะสมองเสื่อมสามารถใช้เป็นราวจับ ช่วยพยุงตัวขณะลุกขึ้นจากเตียง อาจเลือกแบบพับเก็บได้เมื่อไม่ใช้งาน – เลือกเครื่องนอนที่มีสีตัดกันระหว่างหมอนกับผ้าห่ม และสีตัดกับสีของพื้นเพื่อช่วยให้มองเห็นง่าย
– ที่นอนไม่อ่อนยวบหรือแข็งจนเกินไป
– วัสดุแข็งแรง ทนทาน ผิวเรียบ ไม่มีส่วนแหลมคม
– มีพื้นที่ข้างเตียงพอสมควรเพื่อความสะดวกในการใช้เก้าอี้รถเข็น
– ถ้ามีห้องน้ำในห้องนอน การวางเตียงอยู่ในจุดที่มองเห็นห้องน้ำชัดเจน จะช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมลุกจากเตียงเดินเข้าห้องน้ำและกลับมาที่เตียงสะดวก
แนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
ค่าความดัน คือ แรงดันในหลอดเลือด ช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว การวัดค่าความดันโลหิต ...
อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว
อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว ช่วยป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมหกล้ม ควรฝึกหัดการใช้งาน หากไม่เคยใช้มาก่อน ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ยาที่มีฤทธิ์ต้านยาสมองเสื่อม
ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาภาวะสมองเสื่อมร่วมกับยากลุ่มอื่น
การเพิ่มสมรรถนะและวิธีการผ่อนคลายร่างกาย
ผู้ดูแลอาจมีความเหนื่อยล้าสะสม เครียดกับอาการผู้มีภาวะสมองเสื่อม ...
EP03 ด้วยรักของลูก
พ่อแม่มีลูกหลายคน และต้องการพึ่งพาลูกทุกคน การขอความร่วมมือ ...
ความดันโลหิตสูงลดลงดีกว่านะ
การลดน้ำหนัก จะทำให้ความดันโลหิตลดลงด้วย
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.