อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว
อุปกรณ์ช่วยพยุงตัว เช่น ไม้เท้า หรือวอล์กเกอร์ (ที่หัดเดินสี่ขา) ช่วยป้องกันการหกล้มในผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้
ข้อแนะนำในการใช้
– ควรฝึกหัดให้ใช้งานหากผู้มีภาวะสมองเสื่อมไม่เคยใช้มาก่อน และคอยเตือนความจำเกี่ยวกับวิธีใช้ เนื่องจากความสามารถในการจดจำและเรียนรู้สิ่งใหม่จะลดลง– เลือกอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีสีสันหรือติดสติ๊กเกอร์สีสดใส เพื่อช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมองเห็นได้ง่าย
– วางอุปกรณ์พยุงตัวใกล้เตียงฝั่งเดียวกับที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะลุกจากเตียง
– ความสูงของไม้เท้าควรเท่ากับส่วนบนสุดของสะโพก หากใช้แล้วไหล่ยกสูง แสดงว่าไม้เท้าสูงเกินไป
– ด้ามจับไม้เท้าควรจับถนัดมือ หรือใช้ฟองน้ำหุ้มและพันให้แน่นไม่ลื่นหลุด
– จัดบ้านให้เรียบโล่งป้องกันการสะดุดล้มเมื่อใช้อุปกรณ์ช่วย
– ติดตะขอหรือห่วงสำหรับแขวนไม้เท้าป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมสะดุดล้ม
– อุปกรณ์พยุงตัวไม่เหมาะกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมทุกคน บางรายอาจต่อต้าน บางรายที่อาการสมองเสื่อมลงมากจะไม่สามารถเรียนรู้และจดจำวิธีใช้งาน
ไม้เท้าสาม-สี่ขา
– ให้ความมั่นคงมากกว่าแบบขาเดียว– ความสูงเหมาะกับผู้ป่วยหรือปรับระดับได้
– ควรมียางกันลื่น
ข้อเสีย อาจเกี่ยวขาโต๊ะทำให้สะดุดล้มง่าย ไม่เหมาะพื้นที่แคบหรือขรุขระ
วอล์กเกอร์ (ที่หัดเดินสี่ขา)
– เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการทรงตัว– เหมาะกับผู้ที่ต้องการการพยุงตัวทั้งซ้าย-ขวา
– ไม่เหมาะกับผู้ที่แขนอ่อนแรง หรือแขนทำงานไม่สัมพันธ์กัน
– มีความมั่นคง
– เดินได้ช้า แต่แข็งแรงมั่นคง
– ความสูงเหมาะกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมหรือปรับระดับได้
– ควรมียางกันลื่น
ข้อเสีย มีขนาดใหญ่ไม่คล่องตัว
วอล์กเกอร์แบบมีล้อ
– คุณสมบัติเช่นเดียวกับวอล์กเกอร์ไม่มีล้อ– เหมาะกับผู้ที่กล้ามเนื้อแขนไม่มีแรง
– ใช้งานได้ดีกว่าบนพื้นที่ไม่เรียบ
– ความสูงเหมาะกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมหรือปรับระดับได้
– ต้องมีตัวห้ามล้อป้องกันการลื่นล้ม
ข้อเสีย มีขนาดใหญ่ ไม่คล่องตัว
บทความที่เกี่ยวข้อง