6 ข้อควรระวังหนาวนี้

หน้าหนาวควรระวังสุขภาพของผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นพิเศษ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเมื่ออากาศเย็นลงมีโอกาสป่วยได้ง่าย และอาการของภาวะสมองเสื่อมมักจะแย่ลงตามไปด้วยเมื่อเจ็บป่วย
ปัญหาสุขภาพที่ควรระวังมีดังนี้

1. ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ
ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่สำหรับคนทั่วไปอาจไม่มีอาการรุนแรงมากนัก แต่สำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มักจะอยู่ในวัยสูงอายุ ร่างกายอ่อนแอกว่า ภูมิต้านทานน้อยกว่า มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อน 
2. โควิด19 
โควิด 19 ยังคงเป็นโรคที่ต้องระวังกันต่อ เมื่อออกนอกบ้านควรให้สวมหน้ากากอนามัย แยกตัวหากมีผู้ป่วยโควิดในบ้าน โดยทั่วไปแล้วผู้มีภาวะสมองเสื่อมอยู่บ้านเป็นหลัก ควรระวังการรับเชื้อจากคนในบ้าน รวมทั้งการเยี่ยมเยียนของลูกหลานในช่วงเทศกาลปีใหม่  
3. ตัวเย็นผิดปกติ
ร่างกายผู้สูงอายุปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิไม่ค่อยดีนัก ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงจนเกิดอันตราย อวัยวะต่างๆ รวมทั้งอวัยวะสำคัญ อย่างเช่นสมองและหัวใจทำงานผิดปกติ อาจมีอาการอ่อนเพลีย ท้องอืด ซึมลง หายใจช้า ชีพจรเต้นช้า ปัสสาวะลดลง หมดสติ และอาจมีโอกาสเสียชีวิต 
4. ปวดข้อ 
อาการปวดข้อที่เป็นอยู่เดิมของผู้สูงอายุ เมื่อเจอกับอากาศเย็นทำให้อาการปวดกำเริบขึ้น ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่สื่อสารบอกใครไม่ได้จึงต้องทรมานอยู่กับความเจ็บปวดโดยไม่ได้รับการดูแลรักษา
สังเกตอาการ เช่น สีหน้าเจ็บปวด ขมวดคิ้ว ร้องไห้ ร้องครวญคราง ตะโกนโดยไม่มีเหตุผล กระวนกระวาย พลุ่งพล่าน จับบริเวณที่ปวด
5. ความดันโลหิตสูง
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ จะมีความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เพราะอุณหภูมิที่ลดลงทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จึงควรดูแลให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
6. ผิวหนังแห้ง
ในวัยสูงอายุผิวหนังบางลง ร่างกายผลิตไขมันใต้ผิวหนังน้อยลง เมื่อเจอกับอากาศหนาวและแห้งทำให้ผิวหนังสูญเสียความชื้นได้มาก จึงมักเกิดอาการคันและเกาจนเป็นแผลเลือดออก หากแผลอยู่ในบริเวณที่ผู้ดูแลมองไม่เห็น ไม่ได้ทายารักษา ก็จะมีโอกาสผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้ 
9 วิธีดูแลสุขภาพต้านความหนาว 
1. ใส่เสื้อกันหนาว ห่มผ้าให้ร่างกายอุ่นพอเพียง
2. ชวนออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
3. อาบน้ำก่อนพลบค่ำ เนื่องจากกลางคืนอากาศเย็น 
4. อาบน้ำอุ่นพอเหมาะ เลี่ยงอาบน้ำเย็นเพราะทำให้ป่วยได้ง่าย
5. ป้องกันผิวแห้ง เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด ทาครีมบำรุงผิวหลังอาบน้ำ 
6. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโควิด 19
7. เลี่ยงพาไปในที่มีคนแออัด เลี่ยงการพบปะสังสรรค์ช่วงเทศกาล
8. ให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ อย่าให้ขาดอาหาร
9. สังเกตตามร่างกายผู้ป่วย สังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป
ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงตามระยะอาการที่เป็นมากขึ้น ...
สุขอนามัยส่วนบุคคล
เมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีสุขอนามัยที่ดี ช่วยป้องกันปัญหาแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ห่างไกลสมองเสื่อม
เริ่มวันนี้ ลดเสี่ยงสมองเสื่อมได้ถึง 30%
แนะนำเกี่ยวกับสมองเสื่อม
สมองเสื่อมคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ...
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม
ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมต้องอุ่นร่างกาย และ cool down อย่างเพียงพอ ...
รู้ได้อย่างไรว่าไขมันเกินหรือยัง?
อ้วนไม่อ้วนเราดูที่ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันเป็นหลัก ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.