ปาร์ตี้อย่างไรไม่ให้ป่วน
ช่วงปีใหม่ครอบครัวของผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจจัดงานเฉลิมฉลองในหมู่ญาติ การเฉลิมฉลองสามารถทำได้ แต่ควรระวังว่าหากบรรยากาศคึกคักมาก จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการพลุ่มพล่าน นอนไม่หลับ หรือเห็นภาพหลอน ควรจัดงานโดยพยายามเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
1. ฉลองกันเล็กๆ ในบ้าน เฉพาะคนในครอบครัวหรือเพื่อนจำนวนคนน้อย คนไม่พลุกพล่าน
2. เน้นบรรยากาศสบายๆ ค่อนข้างสงบ
3. ถ้าเปิดเพลง เลือกเพลงเบาๆ จังหวะช้าๆ ดูว่าต้องมีช่วงปิดเสียงเพลงให้ผู้ป่วยได้อยู่อย่างสงบหรือไม่
4. เลี่ยงการเปิดไฟสลัวหรือจ้าเกินไป เลี่ยงการใช้ไฟหลายสี แสงไฟกระพริบ
5. ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยเหนื่อยเกินไป
6. พยายามรักษากิจวัตรประจำวันให้ใกล้เคียงกับปกติ
7. อยู่ใกล้ๆ คอยให้ความช่วยเหลือ
8. สังเกตอาการกระสับกระส่ายหรือไม่สบายใจ พาแยกตัวออกไปอยู่อย่างสงบ หรือให้สมาชิกแยกย้ายจบงานฉลอง
9. ดูแลอาหารและเครื่องดื่มของผู้ป่วย ระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
10. ไม่ปล่อยให้นอนดึก
ข้อแนะนำให้คนอื่นๆ ปฏิบัติต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม
1. พูดด้วยน้ำเสียงปกติ อ่อนโยน ชัดถ้อยชัดคำ เสียงดังพอสมควร ไม่ใช่การตะโกน
2. แนะนำตัวว่าเป็นใคร ถ้าจำไม่ได้ให้ปล่อยผ่าน เลี่ยงการกดดันให้พยายามนึกให้ออก หรือแก้ความเข้าใจ
3. การเข้าหาไม่ควรยืนสูงกว่า เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกไม่ปลอดภัย
4. หากเจอคำถามซ้ำๆ ให้ตอบ ไม่ต้องบอกว่าเพิ่งถามไป
5. หากถามถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว อาจเลี่ยงตอบว่าติดธุระ หรือเดี๋ยวมา ป้องกันผู้ป่วยเสียใจ ดูตามอาการว่าตอบแบบไหนแล้วอารมณ์ไม่พลุ่งพล่าน
1. พูดด้วยน้ำเสียงปกติ อ่อนโยน ชัดถ้อยชัดคำ เสียงดังพอสมควร ไม่ใช่การตะโกน
2. แนะนำตัวว่าเป็นใคร ถ้าจำไม่ได้ให้ปล่อยผ่าน เลี่ยงการกดดันให้พยายามนึกให้ออก หรือแก้ความเข้าใจ
3. การเข้าหาไม่ควรยืนสูงกว่า เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกไม่ปลอดภัย
4. หากเจอคำถามซ้ำๆ ให้ตอบ ไม่ต้องบอกว่าเพิ่งถามไป
5. หากถามถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว อาจเลี่ยงตอบว่าติดธุระ หรือเดี๋ยวมา ป้องกันผู้ป่วยเสียใจ ดูตามอาการว่าตอบแบบไหนแล้วอารมณ์ไม่พลุ่งพล่าน
บทความที่เกี่ยวข้อง
นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3
นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3
อาการของภาวะสมองเสื่อม 3 ระยะ สมองของผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะถดถอยไปเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น ...