5 วิธีดูแลผู้สูงอายุห่างไกลซึมเศร้า-สมองเสื่อม

5 วิธีดูแลผู้สูงอายุห่างไกลซึมเศร้า-สมองเสื่อม
5 วิธีดูแลผู้สูงอายุห่างไกลซึมเศร้า-สมองเสื่อม 
วัยสูงอายุมักจะพบกับความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งความสามารถร่างกายถดถอยลง มีโรคมาเยือน มีเวลาว่างมาก ไม่ได้อยู่ตำแหน่งหน้าที่การงานอีกต่อไป หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ฯลฯ

หากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะซึมเศร้าเป็นเวลานาน มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า และอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ 
ดูแลผู้สูงอายุห่างไกลซึมเศร้า-สมองเสื่อม 

1. ชวนทำกิจกรรม
หากผู้สูงอายุใช้ชีวิตนั่งอยู่เฉย ๆ ทุกวัน ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายเศร้าซึม หากิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน งานอดิเรก สิ่งที่เคยชอบทำมาก่อน หรือสิ่งที่สนใจแต่ช่วงวัยทำงานไม่มีโอกาสทำ เช่น ทำงานประดิษฐ์ ศิลปะ วาดภาพ ปั้น ปลูกต้นไม้ ร้องเพลง ทำอาหาร เล่นกันเด็ก สัตว์เลี้ยง ฯลฯ

2. ชวนออกกำลังกาย 
การออกกำลังกายอาจเป็นเรื่องยากหากไม่เคยทำมาก่อน การบอกให้ทำหรือบังคับมักจะไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนเป็นการชวนกันออกกำลังกายไปด้วยกัน วันละประมาณ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน เช่น เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ ไทชี่ ยางยืด ฯลฯ หรือ ทำงานบ้าน ทำสวน ซึ่งดูตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายแต่ละคน จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อ ช่วยให้โลหิตไหลเวียน การทรงตัวดี ร่างกายแข็งแรงขึ้น ปรับอารมณ์ให้แจ่มใส และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น  

3. ช่วยให้มีสังคม 
ลูกหลานอยู่ในวัยเรียนวัยทำงาน มีเวลาให้กับผู้สูงอายุค่อนข้างน้อย เมื่อมีเวลาควรชวนผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกัน ทำอาหาร พาไปเที่ยวนอกบ้าน ชวนเดินออกกำลังกาย ไปสวนสาธารณะ มีกลุ่มคุยออนไลน์สำหรับครอบครัว เพื่อนฝูง หาเพื่อนที่มีความสนใจเดียวกันให้ทำกิจกรรมร่วมกัน เข้าสมาคม ชมรมต่าง ๆ

4. ดูแลอาหารการกิน
ให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม หากเบื่ออาหารอาจปรับเปลี่ยนให้มีความหลากหลายมากขึ้น เลือกอาหารที่ผู้สูงอายุชอบ พาออกไปกินข้าวนอกบ้านบ้าง  ลองสังเกตและหาสาเหตุของการเบื่ออาหาร อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพปากและฟัน การย่อยไม่ดี ท้องผูก การใช้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้เช่นกัน 

5. ดูแลสุขภาพใจ
ดูแลเอาใจใส่ อย่าปล่อยให้เบื่อหรือเหงาลำพังทุกวัน ชวนพูดคุยหรือเลือกให้รับข้อมูลที่ดีต่อใจ เมื่อคิดลบชวนเบี่ยงเบนไปยังเรื่องที่สบายใจ ให้ความรักความอบอุ่น เข้าใจและรับฟัง  ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวหรือสังคมจะสร้างความรู้สึกมีคุณค่า มีพลังใจเพิ่มมากขึ้น 
อ่านเพิ่มเติม : อาการของโรคซึมเศร้า 
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง ภาวะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สามารถทำการงานต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: NCDs คืออะไร
NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Disease คือ โรคไม่ติดต่อ เช่นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ ...
การบริหารร่างกายผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือติดเตียง
การบริหารร่างกายให้กับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ...
การสร้างภูมิต้านทานโรค
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมักจะอยู่ในวัยสูงอายุ ...
สมองเสื่อมที่ป้องกันได้
ภาวะสมองเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ มีปัจจัยเสี่ยงจากอะไร
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.