เทคนิคกินดีลดความดันโลหิตสูง 17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก

อาหารมีผลต่อความดันโลหิตอย่างไร
อาหารมีผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตหากกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ อาหารที่มีโซเดียมสูง น้ำตาลสูง ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์สูง
แต่ในทางกลับกันหากกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช นมไขมันต่ำหรือขาดมันเนย ปลา ไก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันพืชที่ไขมันอิ่มตัวต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง
อาหารมีผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตหากกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ อาหารที่มีโซเดียมสูง น้ำตาลสูง ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์สูง
แต่ในทางกลับกันหากกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช นมไขมันต่ำหรือขาดมันเนย ปลา ไก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันพืชที่ไขมันอิ่มตัวต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง
อาหารควรเลี่ยงและควรลด
1. อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เครื่องปรุง เครื่องจิ้ม อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมกรุบกรอบ เบอเกอรี่
2. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย ชีส มาการีน ครีมเทียม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ ของทอด อาหารจานด่วนแบบตะวันตก เบเกอรี่
3. น้ำตาล ของหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลเองอาจจะไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคนี้โดยตรง แต่การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนและอาจเหนี่ยวนำหรือเป็นสาเหตุแห่งการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบและขาดความยืดหยุ่นได้
4. แอลกอฮอล์ ทำให้ระดับความดันโลหิตเกิดความแปรปรวน และจะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตในระยะยาวอีกด้วย
1. อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เครื่องปรุง เครื่องจิ้ม อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมกรุบกรอบ เบอเกอรี่
2. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย ชีส มาการีน ครีมเทียม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ ของทอด อาหารจานด่วนแบบตะวันตก เบเกอรี่
3. น้ำตาล ของหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลเองอาจจะไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคนี้โดยตรง แต่การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนและอาจเหนี่ยวนำหรือเป็นสาเหตุแห่งการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบและขาดความยืดหยุ่นได้
4. แอลกอฮอล์ ทำให้ระดับความดันโลหิตเกิดความแปรปรวน และจะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตในระยะยาวอีกด้วย
อาหารประเภทไหนช่วยลดความดันโลหิตได้
หลักการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หรือ DASH Diet (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet)
คือลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียม ไขมันอิ่มตัว ไขมันรวมและคอเรสเตอรอลลง และเพิ่มการรับประทานใยอาหาร โปรตีน แคลเซียม โปแตสเซียมและแมกนีเซียม
หลักการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หรือ DASH Diet (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet)
คือ
อาหารที่แนะนำ
1. เน้นกินพืช ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ
2. โปรตีนที่มีคุณภาพดี ไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น ปลา ไก่ เต้าหู้
3. แร่ธาตุโพแทสเซียมที่ได้มาจากผัก ผลไม้ พืชประเภทหัว
4. แร่ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งได้มาจากผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชและดาร์กช็อกโกแลต
5. แร่ธาตุแคลเซียม ที่ได้จากนมและผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งฝอย งา เต้าหู้แข็ง
6. เกลือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
7. กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป และไม่ปรุงแต่งมากเกินไป
1. เน้นกินพืช ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ
2. โปรตีนที่มีคุณภาพดี ไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น ปลา ไก่ เต้าหู้
3. แร่ธาตุโพแทสเซียมที่ได้มาจากผัก ผลไม้ พืชประเภทหัว
4. แร่ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งได้มาจากผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชและดาร์กช็อกโกแลต
5. แร่ธาตุแคลเซียม ที่ได้จากนมและผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งฝอย งา เต้าหู้แข็ง
6. เกลือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
7. กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป และไม่ปรุงแต่งมากเกินไป
ผู้เขียน : ดร.วนะพร ทองโฉม นักสุขศึกษา (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ) งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทความที่เกี่ยวข้อง