หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
การหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายมากกว่าคนในวัยอื่น เมื่อหกล้มอาจเกิดการบาดเจ็บ ศีรษะกระแทก กระดูกหัก พิการ หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
อายุ 65 ปี เสี่ยงหกล้ม 28-35%
อายุ 70 ปี เสี่ยงหกล้ม 32-42%
อัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
การหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายมากกว่าคนในวัยอื่น เมื่อหกล้มอาจเกิดการบาดเจ็บ ศีรษะกระแทก กระดูกหัก พิการ หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
การหกล้มในวัยสูงอายุเกิดจากความเสื่อมถอยในส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย และสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตยามสูงวัย
สภาพร่างกายเปลี่ยนไป
1. สมองประมวลผลช้าลง คิดช้า การตัดสินใจช้า
2. ปฏิกิริยาตอบสนองช้า การเคลื่อนไหวช้าลง
3. สายตาไม่ดี
4. หน้ามืดวิงเวียนง่าย
5. กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอ่อนแอลง ข้อต่อตึงแข็ง ไม่คล่องตัวเหมือนก่อน
6. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เมื่อรีบเข้าห้องน้ำทำให้เสี่ยงหกล้มง่าย
7. การกินยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยารักษาอาการชักและปวดเส้นประสาท ยาคลายวิตกกังวล ยานอนหลับ ยารักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุน ยารักษาปัสสาวะขัด ยารักษาอาการทางจิต
8. โรคที่มักจะมาเยือนเมื่อถึงวัยสูงอายุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน ฯลฯ
1. สมองประมวลผลช้าลง คิดช้า การตัดสินใจช้า
2. ปฏิกิริยาตอบสนองช้า การเคลื่อนไหวช้าลง
3. สายตาไม่ดี
4. หน้ามืดวิงเวียนง่าย
5. กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอ่อนแอลง ข้อต่อตึงแข็ง ไม่คล่องตัวเหมือนก่อน
6. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เมื่อรีบเข้าห้องน้ำทำให้เสี่ยงหกล้มง่าย
7. การกินยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยารักษาอาการชักและปวดเส้นประสาท ยาคลายวิตกกังวล ยานอนหลับ ยารักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุน ยารักษาปัสสาวะขัด ยารักษาอาการทางจิต
8. โรคที่มักจะมาเยือนเมื่อถึงวัยสูงอายุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน ฯลฯ
สภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย
1. พื้น : ลื่น ขรุขระ ต่างระดับ มีธรณีประตู ทางเดินลาดชันมาก มีน้ำขัง
2. บันได : ขึ้นลงไม่สะดวก วางของกีดขวางทาง
3. มีสิ่งกีดขวางทางเดิน : โต๊ะเก้าอี้ที่มีส่วนยื่นออกมา พรมเช็ดเท้า สายไฟ บ้านรกวางของระเกะระกะบนพื้น
4. แสงสว่างไม่เพียงพอ : บริเวณที่ใช้งานหรือเดินผ่านเป็นประจำ โดยเฉพาะ บันได
5. เก็บของไว้ที่สูง : ต้องเอื้อมหยิบหรือใช้เก้าอี้ปีน
6. สัตว์เลี้ยง : นอนขวางทางเดิน กระโจนใส่
7. กระจกใสขนาดใหญ่ : อาจเดินชน
8. มีบ่อน้ำ : หกล้มตกบ่อ
1. พื้น : ลื่น ขรุขระ ต่างระดับ มีธรณีประตู ทางเดินลาดชันมาก มีน้ำขัง
2. บันได : ขึ้นลงไม่สะดวก วางของกีดขวางทาง
3. มีสิ่งกีดขวางทางเดิน : โต๊ะเก้าอี้ที่มีส่วนยื่นออกมา พรมเช็ดเท้า สายไฟ บ้านรกวางของระเกะระกะบนพื้น
4. แสงสว่างไม่เพียงพอ : บริเวณที่ใช้งานหรือเดินผ่านเป็นประจำ โดยเฉพาะ บันได
5. เก็บของไว้ที่สูง : ต้องเอื้อมหยิบหรือใช้เก้าอี้ปีน
6. สัตว์เลี้ยง : นอนขวางทางเดิน กระโจนใส่
7. กระจกใสขนาดใหญ่ : อาจเดินชน
8. มีบ่อน้ำ : หกล้มตกบ่อ
ดูแลสุขภาพร่างกาย
1. นอนหลับพักผ่อน กินอาหารให้พอเพียงและกินเป็นเวลา เพื่อป้องกันอาการหน้ามืดเป็นลม
2. ออกกำลังกาย เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก สร้างความยืดหยุ่นข้อต่อ และช่วยให้การทรงตัวดี ถ้ามีปัญหาสุขภาพปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม
3. ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เช่น ควบคุมระดับความดันโลหิต ควบคุมเบาหวานโดยการคุมระดับน้ำตาลในเลือด
4. ระมัดระวังการกินยา สอบถามกับแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา
ระมัดระวังการเคลื่อนไหว
1. มีสมาธิใส่ใจในสิ่งที่ทำ ทำทีละเรื่อง
2. อย่ารีบร้อนเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ค่อยๆ ลุกจากเตียง ดูเก้าอี้ก่อนนั่ง เดิน ไม่วิ่ง
3. มองก่อนก้าวขึ้น-ลง ดูสภาพพื้นก่อนก้าวเดิน
4. งดปีนป่ายหยิบของจากที่สูง หรือปีนซ่อมแซมบ้าน ตัดต้นไม้
ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
1. ห้องนอน
- ไม่นอนบนพื้น อาจปวดข้อ หรือวิงเวียนหน้ามืด ทำให้เสียการทรงตัว
- ใช้เตียงสูงระดับข้อพับเข่าเพื่อลุกนั่งสะดวก ไม่มีขอบแหลมคม ฟูกไม่นิ่มหรือแข็งเกินไป
- สวิทช์ไฟเปิดปิดสะดวก อยู่ในจุดใกล้เตียงนอน ใกล้ประตู
- อยู่ชั้นล่าง เพื่อเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
- มีบริเวณเดินสะดวก
2. ห้องน้ำ
- พื้นต้องไม่ลื่น
- มีราวจับตามจุดต่างๆ
- อุปกรณ์ใช้งานสะดวก
- ประตูเปิดออกด้านนอก บานเลื่อน
3. ห้องครัว
- อุปกรณ์การใช้งานต่างๆ หยิบได้ง่าย ไม่ต้องก้ม เอื้อมไกล หรือเอื้อมข้ามเตา
- มีเก้าอี้ให้นั่งพัก
- แสงสว่างพอเพียง
- พื้นไม่ลื่น
4. ห้องนั่งเล่น
- เครื่องเรือนมีความแข็งแรงมั่นคง ไม่มีส่วนใดยื่นออกมา งดใช้เก้าอี้โยก
5. สภาพแวดล้อมในบ้าน
- พื้นเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น ไม่ขรุขระ ไม่ใช้พื้นต่างระดับ ไม่มีธรณีประตู ทางไม่มีจุดลาดชันมากเกินไป ไม่มีน้ำขัง
- จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่มีของวางกีดขวางทางเดิน พรม หรือสายไฟบนพื้น
- ติดไฟให้มีแสงสว่างมองเห็นชัด จุดที่มักละเลย เช่น บันได และทางเดิน
- บันได ไม่วางสิ่งของ มีราวจับ
- ติดราวจับช่วยพยุงตัวภายในห้องน้ำ หรือภายในบ้าน ตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายผู้สูงอายุ
อื่นๆ
1. ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น สวมแว่นสายตา ไม้เท้าช่วยพยุง ไม้ช่วยใส่รองเท้า เครื่องช่วยฟัง ติดตั้งอุปกรณ์ขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน ติดอุปกรณ์กันกระแทก
2. ใช้เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ที่ช่วยให้มีความคล่องตัว ใส่สบาย ไม่มีการตกแต่งรุงรัง หรือมีน้ำหนักมาก
1. ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น สวมแว่นสายตา ไม้เท้าช่วยพยุง ไม้ช่วยใส่รองเท้า เครื่องช่วยฟัง ติดตั้งอุปกรณ์ขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน ติดอุปกรณ์กันกระแทก
2. ใช้เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ที่ช่วยให้มีความคล่องตัว ใส่สบาย ไม่มีการตกแต่งรุงรัง หรือมีน้ำหนักมาก
บทความที่เกี่ยวข้อง