ฉลองตรุษจีนแบบสุขภาพดี หนีสมองเสื่อม (และปัญหาหลอดเลือด)

การกินอาหารหวาน มัน เค็มมากเกินไป เป็นการทำร้ายระบบต่างๆ ของร่างกายที่จะต้องทำให้ค่าสารต่างๆ ในเลือดคงตัว (ไม่มากไป ไม่น้อยไป) ระบบต้องทำงานหนักขึ้น ในคนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะป่วนที่เกิดจากอาหารการกิน เช่น มีกรรมพันธุ์เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดสูงอยู่แล้ว ระบบต้องทำงานหนักขึ้น ถ้าจัดการไม่ไหว ก็จะเกิดปัญหาได้
เทศกาลตรุษจีนเป็นวันที่ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อไหว้เทพเจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เฉลิมฉลองปีใหม่ตามประเพณีจีน กิน อาหาร ร่วมกับคนในครอบครัว วันนี้เป็นวันพิเศษจึงมีอาหารมากมายหลายอย่าง ทั้งหมู เป็ด ไก่ กุ้ง ปู ปลา ผัดหมี่ซั่ว ขนมหวาน ผลไม้ต่างๆ ซึ่งมักจะมีไขมันและน้ำตาลสูง บรรยากาศคึกคักยิ่งทำให้กินเพลินกินเกิน อย่างนี้ไม่ดีต่อสุขภาพแน่  
สภาพร่างกายกับ 3 ตัวร้าย หวาน มัน เค็ม
เมื่ออายุมากขึ้นควรระมัดระวังการกิน โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ เนื่องจากในวัยนี้เป็นวัยที่อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมถอยลง ปัญหาสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่ตามมากับวัยมีอยู่มิใช่น้อย
การกินอาหารหวาน มัน เค็มมากเกินไป เป็นการทำร้ายระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่จะต้องทำให้ค่าสารต่างๆ ในเลือดคงตัว (ไม่มากไป ไม่น้อยไป) ระบบต้องทำงานหนักขึ้น ในคนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะป่วนที่เกิดจากอาหารการกิน เช่น มีกรรมพันธุ์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดสูงอยู่แล้ว ระบบต้แงทำงานหนักขึ้น ถ้าจัดการไม่ไหว ก็จะเกิดปัญหาได้ ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้มีภาวะเบาหวานจะควบคุมไม่ค่อยได้ในเทศกาลเหล่านี้เสมอ (ช่วงปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์) เรียกว่า ป่วยอยู่แล้วก็คุมยากขึ้น จนเกิดภาวะแทรกซ้อน โรคหัวใจ สโตรก/โรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งภาวะสมองเสื่อมจากปัญหาหลอดเลือด โรคไต 
ฟันและระบบย่อยอาหารผู้สูงอายุทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม การกินเนื้อสัตว์และไขมันมาก  และยังกินอาหารในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องผูกตรุษจีนนี้กินดี สุขภาพดี หนีสมองเสื่อม
ฉลองตรุษจีนอย่างมีสุขภาพอย่าลืมดูแลหลอดเลือดและดูแลสมองของเรา ยังกินของอร่อยได้เหมือนเดิม แต่ควรลด-ปรับ-เปลี่ยน  
หากจัดการการปรุงอาหารเพื่อลดหวาน มัน เค็ม ด้วยตัวเองจะช่วยให้ดูแลสุขภาพง่ายขึ้น
1. เลี่ยงหวาน
- เลี่ยงขนมหวานจัดทั้งที่มี หรือ ไม่มีไขมัน ถ้ากินแนะนำให้กินน้อยๆ เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมชั้น ขนมเปี๊ยะ จันอับ ขนมเชื่อมต่าง ๆ เลือกกินขนมหวานน้อยในปริมาณน้อยเช่นกัน อย่างเช่น ขนมถ้วยฟู ขนมสาลี่ ขนมไข่ 
- เลี่ยงผลไม้รสหวานจัด หรือกินแต่น้อย เช่น องุ่น มะม่วงสุก มะขามหวาน สับปะรด ส้ม รวมทั้งผลไม้กระป๋อง เลือกกินผลไม้หวานน้อย เช่น แก้วมังกร แอปเปิลเขียว สตรอว์เบอร์รี แคนตาลูป และไม่ควรกินมากเช่นกัน 
- ปรุงอาหารไม่ใส่น้ำตาล หรือใส่เล็กน้อยแค่ปลายช้อนหรือครึ่งช้อนชา 

2. เลี่ยงไขมัน 
เลือกกิน
- ลดส่วนหนังและมัน หมู เป็ด ไก่  
- เลี่ยงการกินมันหรือส่วนหัวของกุ้ง
- กินปลา เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และปลาหลายชนิดไขมันดีอยู่มาก เช่น ปลาจะละเม็ดขาว ปลากะพงขาว ปลาสำลี ปลาช่อน ปลาดุก และปลาทู ฯลฯ

เลือกวิธีปรุงลดไขมัน
- ต้ม ตุ๋น อบ นึ่ง ย่างไฟอ่อน แทน ผัดหรือทอด
- ใช้เตาอบ หม้อทอดไร้น้ำมัน เพื่อดึงเอาไขมันออกจากเนื้อสัตว์
- เมนูผัด เช่น ผัดหมี่ซั่ว ใส่ผักเยอะ ๆ ทำให้ไม่ต้องกินแป้งมาก และช่วยจับไขมัน
- ผัดอาหารใช้น้ำมันน้อย หรือผัดด้วยน้ำ   

ใช้น้ำมันอย่างมีความรู้
- ใช้น้ำมันให้น้อย  แต่ละวันควรใช้น้ำมันไม่เกิน 5-6 ช้อนชา
- เลือกน้ำมันให้เหมาะกับอุณหภูมิของการปรุงอาหารนั้นๆ 
    ทอด ต้องใช้ไฟแรง ควรใช้นำมันกลุ่มที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวเพื่อทนความร้อนได้สูง น้ำมันไม่ไหม้ไปก่อน : น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู แต่น้ำมันชนิดนี้ไม่ดีต่อสุขภาพ ใช้ให้น้อยที่สุด
    ผัด น้ำมันดีต่อสุขภาพทนความร้อนได้ไม่มาก เหมาะกับการผัดที่ไม่ต้องร้อนมาก : น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันคาโนลา
- อย่าใช้น้ำมันมากเกินที่กำหนดไว้ 

3. เลี่ยงเค็ม
- กินไม่เติมเครื่องปรุง ไม่วางขวดน้ำปลา ซอส บนโต๊ะอาหาร
- ทำอาหารเองจะช่วยให้ควบคุมปริมาณเกลือในอาหารได้ดีกว่า
- ระวังการกินน้ำจิ้มต่างๆ กินแต่น้อย
- เลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมแฝงในสารปรุงแต่งอาหาร เช่น อาหารที่ใส่ผงปรุงรส อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ เบคกิงโซดาที่มักอยู่ในขนมเบเกอรี่ อาหารที่ใส่สารให้ความข้นหนืด เช่น เจลลี่ ไอศกรีม รวมทั้งสารกันบูด

4. กินพออิ่ม 
- ตักอาหารแต่ละอย่างใส่จานดูปริมาณพอเหมาะอย่าให้มากเกินไป กินเท่าที่มีในจานเพื่อควบคุมปริมาณการกิน 
- เมื่อกินอิ่มเก็บอาหารออกจากโต๊ะ อาหารที่เหลือเก็บไว้กินมื้ออื่นๆ หรือแจกจ่ายญาติ เพื่อนบ้าน
ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงตามระยะอาการที่เป็นมากขึ้น ...
สุขอนามัยส่วนบุคคล
เมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีสุขอนามัยที่ดี ช่วยป้องกันปัญหาแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
อัลไซเมอร์คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด ...
นอนไม่พอเสี่ยงสมองเสื่อม
แบบประเมินความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวัน
เพื่อให้รู้ว่าคน ๆ หนึ่งคนมีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ ...
แนวทางในการสื่อสารกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างเหมาะสม
การดูแลผู้สูงวัยด้วยทัศนคติที่มองมนุษย์เป็นมนุษย์ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.