น่ารู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหมู่ที่ 2 ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล 
คาร์โบไฮเดรต มีบทบาทที่สำคัญ คือ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้ากินน้อยเกินไปจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำ วิงเวียน เป็นลม อาจช็อคหมดสติได้ แต่ตรงกันข้าม ถ้ากินมากเกินไป น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อ้วน นำไปสู่การ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันสูงในเลือด ในเด็กถ้ากินน้ำตาลมากๆ จะมีฟันผุ และขาดสารอาหารตัวอื่นได้
ครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ควรได้รับต่อวันต้องมาจากคาร์โบไฮเดรต เช่น หากต้องการพลังงานจากอาหาร 2,000 กิโลแคลอรี ต้องเป็นพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรต 1,000 กิโลแคลอรี่
วัยผู้ใหญ่ ควรกินข้าวที่ไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท กินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ไม่เติมน้ำตาลในอาหารที่กำลังจะกิน หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม และลดปริมาณผลไม้ที่หวานจัด
สารอาหารที่ร่างกายต้องการ 6 กลุ่ม 
มีความจำเป็นต้องกินให้ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 
กลุ่มที่ 1 โปรตีน : เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง
กลุ่มที่ 2 คาร์โบไฮเดรต : ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล 
กลุ่มที่ 3 และ 4 วิตามินและเกลือแร่ : ผัก ผลไม้
กลุ่มที่ 5 ไขมัน : ไขมันจากสัตว์และพืช
กลุ่มที่ 6 : น้ำ   
เรียบเรียงจากหนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล
กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
น่ารู้เกี่ยวกับโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีมากใน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง นอกจากนี้ ...
น่ารู้เกี่ยวกับวิตามินและเกลือแร่
วิตามินและเกลือแร่ เป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหมู่ที่ 3 คือ พืชผัก และหมู่ที่ 4 คือ ผลไม้
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ผู้สูงอายุมีสิทธิอะไรบ้างตาม พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
สิทธิผู้สูงอายุตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 ...
แหล่งซื้ออุปกรณ์การดูแลผู้ป่วย
การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
How to การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ...
EP06 กว่าเราจะเข้าใจกัน
แม่ยังคงมีความรักเปี่ยมล้นให้เสมอ แต่โรคอัลไซเมอร์ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.